วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 9


Diary No.9

Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
 wednesday, 23 March , 2559 Time 08.30 - 12.30


คุณครูและนักศึกษาพร้อมทั้งร่วมกันเฉลยข้อสอบเเละอธิหาคำตอบข้อที่ถูกต้อง ร่วมกัน

ครั้งที่ 8



Diary No.8

Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
 wednesday, 16 March , 2559 Time 08.30 - 12.30



สอบเก็บคะแนน


คร้้งที่ 7


Diary No.7

Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
 wednesday, 2 March , 2559 Time 08.30 - 12.30


วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ครั้งที่ 6



Diary No.6

Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
 wednesday, 2 March , 2559 Time 08.30 - 12.30
 
ความรู้ที่ได้รับ 

8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)

มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ

แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น

มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ

เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้

เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้

ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อ

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว

ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป

ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

ด้านทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์

ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด

กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น

หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน ใช้สารเสพติด

หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศความประพฤติ (Conduct Disorders)

สมาธิสั้น (Attention Deficit)

มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)

พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น

มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น

เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา

ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึ

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย
(Function Disorder)

ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)

การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)

การปฏิเสธที่จะรับประทาน

รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้

โรคอ้วน (Obesity)

ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง

ขาดเหตุผลในการคิด

อาการหลงผิด (Delusion)

อาการประสาทหลอน (Hallucination)

พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

สาเหตุ

ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)

ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก

ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ

รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้

มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์

แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

มีความหวาดกลัว

เด็กสมาธิสั้น
(ChiADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช


มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประกInattentiveness (
สมาธิสั้น)

คือ ldren with Attentioทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ

ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ

มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย

เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ

เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

 Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)

ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก

เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

เหลียวซ้ายแลขวา

ยุกยิก แกะโน่นเกานี่

อยู่ไม่สุข ปีนป่าย

นั่งไม่ติดที่

ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)

ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม

ขาดความยับยั้งชั่งใจ

ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ

ไม่อยู่ในกติกา

ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง

พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง

ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน

สาเหตุ

ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง

เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)

ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)

พันธุกรรม

สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น

สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก

ลักษณะของอุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน

ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก

ดูดนิ้ว กัดเล็บ

หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม

เรียกร้องความสนใจ

อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า

ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว

ฝันกลางวัน

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

9. เด็กพิการซ้อน
(Children with Multiple Handicaps)

เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก

เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน

เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด

เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
 

Adoption( การนำไปใช้)
ประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กพิเศษว่ามีเเนวทางการให้ความรู้อย่างไรในวิธีการสอนเด็ก

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

อากาศค่อนข้างเย็น เพื่อนคุยบ้างเล็กน้อย เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำฟังคำบรรยาย

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
แต่งตัวเรียบร้อย มาไม่สาย

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
มีกิจกรรมที่น่าสนใจ และคอยช่วยหลือเรื่องอุปกรณ์กับนักศึกษา เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้อย่างดี

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

เเต่งกายสุภาพสอนเข้าใจ







 

 
 
 
 
 
 

 

 

ครั้งที่ 5




Diary No.5


Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
 wednesday, 10 January , 2559 Time 08.30 - 12.30
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities


เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning Disability) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

สาเหตุของ LDความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)กรรมพันธุ์

1.            ด้านการอ่าน (Reading Disorder)หนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำอ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน

อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้

อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน

เดาคำเวลาอ่าน

อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง

อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน

ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้

ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน

เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้

2.            ด้านการเขียน (Writing Disorder) เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้นเขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน

ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ

เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ

เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน

     เช่น ม-นภ-ถด-คพ-ผ, b-d, p-q, 6-9

เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้

เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา

เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด

3.            ด้านการคิดคำนวณ 

ตัวเลขผิดลำดับ

ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ

ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อยแก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้

4.            หลายๆ ด้านร่วมกัน

7. ออทิสติก (Autistic)

หรือ ออทิซึ่ม (Autism) เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"

ลักษณะของเด็กออทิสติก

อยู่ในโลกของตนเองไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน  ไม่ยอมพูด เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

 

 

Adoption( การนำไปใช้)
ประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กพิเศษว่ามีเเนวทางการให้ความรู้อย่างไรในวิธีการสอนเด็ก

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

อากาศค่อนข้างเย็น เพื่อนคุยบ้างเล็กน้อย เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำฟังคำบรรยาย

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
แต่งตัวเรียบร้อย มาไม่สาย

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
มีกิจกรรมที่น่าสนใจ และคอยช่วยหลือเรื่องอุปกรณ์กับนักศึกษา เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้อย่างดี

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

เเต่งกายสุภาพสอนเข้าใจ

ครั้งที่ 4



Diary No. 4

 
 
Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood
 wednesday, 10 January , 2559 Time 08.30 - 12.30
 
ความรู้ที่ได้รับ

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders )

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดหมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียง
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน"  กวาด ฟาดเพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้มเสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"
 2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป

3. ความบกพร่องของเสียงพูด ความบกพร่องของระดับเสียงเสียงดังหรือค่อยเกินไปคุณภาพของเสียงไม่ดี

ความบกพร่องทางภาษา  หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย มีความยากลำบากในการใช้ภาษามีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยคไม่สามารถสร้างประโยคได้มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วน ๆ
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง อ่านไม่ออก (alexia) เขียนไม่ได้ (agraphia) สะกดคำไม่ได้ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิงจำคำหรือประโยคไม่ได้ไม่เข้าใจคำสั่ง
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบา ๆ และอ่อนแรง ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้ หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีปัญหาทางระบบประสาท
โรคลมชัก (Epilepsy)เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปากเมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู
3.อาการชักแบบ Partial Complexมีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาทีเหม่อนิ่ง เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูดหลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็งไม่จับยึดตัวเด็กขณะชักหาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจาปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่งจัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวมห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ
ซี.พี. (Cerebral Palsy)
การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง(athetoid , ataxia)
athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed) กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว
เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่  จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุกระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
โปลิโอ (Poliomyelitis)มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญายืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus )  โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)  โรคมะเร็ง (Cancer)  เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว ท่าเดินคล้ายกรรไกร เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว หกล้มบ่อย ๆหิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ



 

 
Adoption( การนำไปใช้)

ประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กพิเศษว่ามีเเนวทางการให้ความรู้อย่างไรในวิธีการสอนเด็ก

classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

อากาศค่อนข้างเย็น เพื่อนคุยบ้างเล็กน้อย เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำฟังคำบรรยาย

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
แต่งตัวเรียบร้อย มาไม่สาย

friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
มีกิจกรรมที่น่าสนใจ และคอยช่วยหลือเรื่องอุปกรณ์กับนักศึกษา เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้อย่างดี

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

เเต่งกายสุภาพสอนเข้าใจ